การปลูกและการดูแลรักษามันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปี โดยมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด เกษตรกรจะทำการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือประมาณเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม อีกร้อยละ 20 ปลูกในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ส่วนที่เหลือร้อยละ 13 จะปลูกในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม สำหรับการปลูกในช่วงต้นฤดูฝนนี้ ผลผลิตหัวสดที่ได้จะสูงกว่าการปลูกในช่วงอื่นๆ แต่ในดินที่มีลักษณะเนื้อดินค่อนข้างหยาบ การปลูกในช่วงฤดูแล้งจะให้ผลผลิตสูงที่สุด ดังนั้นในการตัดสินใจเลือกช่วงการปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสม จึงต้องพิจารณาทั้งปริมาณน้ำฝน และลักษณะของดิน
มันสำปะหลัง…ถูกใส่ร้าย
มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่ยังมีการเข้าใจผิด ว่าปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษา และการปลูกมันสำปะหลังยังเป็นทำลายดิน และสิ่งแวดล้อม จึงถูกมองว่ามันสำปะหลังเป็นพืชที่มี ศักยภาพต่ำ แต่ที่จริงแล้วหากมีการจัดต้นทุนการ ผลิตและการตลาดให้ถูกต้องแล้ว จะเห็นว่ามันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงมาก สามารถแข่งขัยชนกับธัญพืชอื่นได้เป็นอย่างดี
ตารางแสดงปริมาณธาตุอาหารของมันสำปะหลังเปรียบเทียบกับพืชไร่บางชนิด
พืช
|
ผลผลิต/ไร่
|
ธาตุอาหาร (กิโลกรัม)
|
||
ไนโตรเจน
|
ฟอสฟอรัส
|
โพแทสเซียม
|
||
มันสำปะหลัง
ข้าวโพด ปอแก้ว อ้อย |
หัวสด
3,000
กก.
เมล็ด 300 กก. ต้น-ใบ-ใย 640 กก. ต้นสด 8,000 กก. |
4.5
4.8 10.9 12.0 |
1.2
2.3 4.0 6.4 |
14.7
7.1 11.1 32.8 |
รายงานอื่นที่ได้ผลการวิจัยทำนองเดียวกัน พบว่ามันสำปะหลังไดผลผลิต 2,188 กิโลกรัม และอ้อยได้ผลผลิต 7,015 กิโลกรัม อ้อยนำธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ออกไปจากดินมากกว่ามันสำปะหลังส่วนข้าวโพดได้ผลผลิต 314 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับมันสำปะหลังแล้วพบว่า มันสำปะหลังนำธาตุโพแทสเซียมออกไปจากดินมากกว่าข้าวโพด แต่ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสน้อยกว่าข้าวโพด
ดินปุ๋ยและมันสำปะหลัง
จากผลการทดลองของ โชติ สิทะบุศย์และคณะ เมื่อปี 2524 และ 2528 พบว่าการใส่ปุ๋ยเคมี และไถกลบต้นและใบมันสำปะหลังหลังเก็บเกี่ยวทุกปี ในปีที่ 10 ปริมาณของฟอสฟอรัส (P2O5) โพแทสเซียม (K2O) ในดินเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) ลดลงบ้างแสดงให้เห็นว่าการปลูกมันสำปะหลังในที่เดิมโดยมีการใส่ปุ๋ยเคมีและไถกลบต้นใบนานติดต่อกันถึง 10 ปี ยังคงรักษาและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้ สภาพปัจจุบันในเขตปลูกมันสำปะหลังเก่าแก่ดั้งเดิมนานกว่า 30-50 ปี คือบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว ผลผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ยเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมาประมาณ 2,200 – 2,300 กิโลกรัมต่อไร่ จากสถิติการเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปีเพาะปลูก 2544/45 รายงานว่า จังหวัดดังกล่าวมีผลผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ยตั้งแต่ 2,999 – 2,143 กิโลกรัมต่อไร่ หากมันสำปะหลังเป็นพืชทำลายดินแล้ว ทำไมผลผลิตมันสำปะหลังในเขตปลูกดั้งเดิมจึงมีผลผลิตที่สูงขึ้น ควรปรับปรุงและบำรุงรักาาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแก่การผลิตโดยการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อทดแทนส่วนที่ถูกใช้ไปและเพิ่มเติมตามความต้องการของพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตตามต้องการ
ข้อมูลทรัพยากรดินเบื้องต้น
การสำรวจทรัพยากรดินบริเวณจังหวัดลพบุรีได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกภายใต้โครงการชลประทาน
เจ้าพระยา ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 สำหรับพื้นที่จังหวัดลพบุรีอยู่ภายใต้โครงการประตูน้ำโคก
กระเทียม (Kevie และคณะ, 1965)ประตูน้ำช่องแค (Kevie และคณะ, 1967) โดยเป็นการสำรวจดินแบบ
ค่อนข้างละเอียด (semi-detailed) มีการเจาะสำรวจดินประมาณ 4-10 จุดต่อพื้นที่หนึ่งตารางกิโลเมตร และ
ศึกษาดินถึงระดับความลึกประมาณ 100 เซนติเมตร ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2506-2509นอกจากนี้ในปี
พ.ศ. 2508 ได้มีการสำรวจดินภายใต้โครงการ MERS (Mobility Environmental Research Study) บริเวณ
พื้นที่รอบๆ ตัวเมืองลพบุรี มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ เป็นการสำ รวจดินแบบค่อนข้างหยาบ
(reconnaissance) มีหน่วยแผนที่ดินเป็นระดับกลุ่มดินหลัก (great soil group) (Santhad, 1966) และมี
การสำรวจดินในบางพื้นที่อีก แต่ก็เป็นเฉพาะบริเวณ มีเนื้อที่ไม่มากนัก เป็นการสำรวจดินระดับค่อนข้าง
ละเอียด (ดำรงและคณะ, 2521; ชวลิต, 2531;เกษตร, 2536)นอกจากนี้ยังมีการสำรวจดินในระดับอำเภอ
ภายใต้โครงการสำรวจดินระดับค่อนข้างละเอียดระดับอำเภอ มาตราส่วน 1:25,000 จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่
อำเภอเมืองลพบุรี(วิชัยและคณะ, 2544) พัฒนานิคม (พลพัฒน์ และคณะ, 2537) และอำเภอโคกสำโรง (ทวี
และคณะ, 2540)ใช้หน่วยแผนที่ในระดับชุดดินและประเภทดิน
สำหรับการสำรวจ จำแนก และทำแผนที่ดินในระดับจังหวัด ได้เริ่มดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2510-
2516ร่วมกับการใช้ข้อมูลภายใต้โครงการชลประทานเจ้าพระยาและโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก เป็นการ
สำรวจดินแบบค่อนข้างหยาบ (detailed reconnaissance survey) เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาระดับ
จังหวัด ข้อมูลดินที่เผยแพร่ใช้หน่วยแผนที่ในระดับชุดดิน ขนาดมาตราส่วน 1:100,000(วิจิตรและคณะ,2519)
หลังจากนั้นในปีพ.ศ. 2534ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 ได้จัดทำรายงานการใช้
ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจประกอบกับแผนที่กลุ่มชุดดินมาตราส่วน 1:50,000 โดยใช้หน่วยแผน
ที่ในระดับกลุ่มชุดดิน(ปราโมทย์และคณะ, 2534)และครั้งสุดท้าย ในปีพ.ศ. 2550 ได้ปรับปรุงแผนที่กลุ่มชุดดิน
ทั้งประเทศโดยนำข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศสีเชิงเลขข้อมูลเส้นชั้นความสูงและแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขของ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาใช้ในการวิเคราะห์สภาพพื้นที่และจัดทำขอบเขตดินเบื้องต้นมีหน่วยแผนที่เป็น
กลุ่มชุดดินและหน่วยพื้นที่เบ็ดเตล็ด(สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2551)
สรุป
จากข้อมูลที่ผมหามาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่ามัดสำปะหลังมีผลกระทบต่อดินน้อยมาก มันสำปะหลังไม่ได้นำธาตุอาหารออกจากดินมากกว่าพืชไร่ชนิดอื่น แต่เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลังในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และเป็นดินร่วนปนทรายซึ่งปกติมีการชะล้างพังทลายสูงอยู่แล้ว
การจัดการดินที่ถูกต้องเพื่อลดการชะล้างพังทลายโดยการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทดแทนธาตุอาหารที่ถูกใช้ไปหรือถูกชะล้างไป เป็นวิธีแก้ปัญหาการขาดความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ภาพถ่ายดินจากการลงพื่นที่จริง จ.ลพบุรี
ภาพถ่ายดินจากการลงพื่นที่จริง จ.ลพบุรี
ภาพถ่ายดินจากการลงพื่นที่จริง จ.ลพบุรี
บทสัมภาษณ์ คุณพ่อวิชัยเจ้าของไร่มันสำปะหลัง จังหวัดลพบุรี
บทสัมภาษณ์
สอบถามข้อมูลจากผู้มีความรู้ ในเรื่องการปลูกมันสำปะหลังและการดูเเลดิน
คุณ วิชัย
เจ้าของไร่จังหวัดลพบุรี
ภาพถ่ายดินจากการลงพื่นที่จริง จ.ลพบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น